สมาชิก AEC : ไทย

         
ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน

ประเทศไทย (Thailand)

ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง

พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร

ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน

ประชากร : 65,926,261 คน ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่

ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ

ศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%

ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej)

นายกรัฐมนตรี คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เขตการปกครอง  ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด 77 จังหวัด 877 อำเภอ และ 7,255 ตำบล และการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

วันชาติ  วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

หน่วยเงินตรา : บาท (Baht : THB) 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 29.37 บาท

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  379.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ประชาชาติต่อหัว  5,587 ดอลลาร์สหรัฐ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 5.5-6.5

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ และข้าว
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง

คำทักทาย – สวัสดี

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Ratchaphruek หรือราชพฤกษ์ มีช่อดอกสีเหลืองที่สวยงาม ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนา และความรุ่งโรจน์

อาหารยอดนิยมของประเทศไทย
“ต้มยำกุ้ง” (Tom yam Goong)

เป็นอาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่นๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย มีเครื่องเทศที่ใส่ในน้ำแกงที่สำคัญคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ส่วนผักที่นิยมใส่ในต้มยำ ได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาลและน้ำพริกเผา

ชุดประจำชาติของประเทศไทย

              

สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า “เสื้อพระราชทาน”

สำหรับสุภาพสตรีคือชุดไทยจักรี (Chakri) จะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. ชุดไทยเรือนต้น
2. ชุดไทยจิตรลดา
3. ชุดไทยอมรินทร์
4. ชุดไทยบรมพิมาน
5. ชุดไทยจักรี
6. ชุดไทยจักรพรรดิ
7. ชุดไทยดุสิต
8. ชุดไทยศิวาลัย

เครื่องดนตรี

                                                                    

ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่งจำพวกเครื่องสายมีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง เป็นซอที่มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูงใช้ในราชสำนัก

ฆ้องวง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัสชัน ทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่มาจากภาษาชวา ปรากฎการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่นจีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน

ขิิม แต่เดิมนั้นเป็นเครื่องดนตรีประเทศจีน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยรัชการที่ 4 นักดนตรีของไทยได้ดัดแปลงแก้ไขโดยเปลี่ยนจากสายลวดมาเป็นสายทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับไปตลอดถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายและมือขวามีระดับเกือบจะตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและก้านแข็งขึ้น หย่องที่หนุนสายีความหนากว่าเดิม เพื่อให้เกิดความสมดุลและเพื่อเพิ่มเสียงให้มีความดังมากยิ่งขึ้น และไม่ให้เสียงที่ออกมามีความแข็งกร้าวจนเกินไปให้ทาบหนังหรือสักหลาดตรงปลายไม้ตี ส่วนที่กระทบกับสายทำให้เกิดความนุ่มนวลและได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผสมของไทยในปัจจุบัน

ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำเอากรับที่มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง นำมารวมกันเป็นชุมจึงมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ระนาดเอกนี้นักดนตรีนิยมเรียกกันสั้นๆว่า “ระนาด” เริ่มมีการนำเอาระนาดเอกมาประสมในวงดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนประกอบของระนาดเอกมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ คือ รางและผืนระนาด หน้าที่ในการบรรเลงระนาดเอกปสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงเครื่องสายผสมวงปีพาทย์ไม้นวม วงปีพาทย์นางหงส์ วงปีพาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปีพาทย์มอญ โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำของวง

ระนาดทุ้ม กำเนิดนามัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประดิษฐขึ้นให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงงทุ้มต่ำกับระนาดเอกซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง ระนาดทุ้มผสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงปีพาทย์ไม้แข็ง วงปีพาทย์ไม้นวม วงปีพาทย์นางหงส์ วงปีพาทย์ดึก่ำบรรพ์ และวงปีพาทย์มอญ โดยทำหน้าที่บรรเลงหยอกล้อไปกับระนาดเอก เดินทำนองรองในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยนล้อ ขัดที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์ของระนาดทุ้ม

กลองยาว เป็นเครื่องดนตรีสำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมมี ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า “เถิดเทิง” หรือ “เทิงกลองยาว” ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่าเรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว

 

สมาชิก AEC : สหภาพพม่า

   
ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน

สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar)

เมืองหลวง : นครเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร) ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร)และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร)ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล

พื้นที่ : 657,740 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)

ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก

ประชากร : ประมาณ 56 ล้านคน (พ.ศ.2548) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2)

ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ

ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05

ประมุข  นายเต็ง เส่ง (U Thein Sein)
หมายเหตุ* พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) อดีตประมุข ซึ่งยังคงดำรงยศทางทหาร แต่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญเมียนมาร์

ผู้นำรัฐบาล  นายเต็ง เส่ง (General Thein Sein) (ประธานาธิบดี)

ระบอบการปกครอง : รัฐสภาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขประเทศและหัวหน้ารัฐบาล

เขตการปกครอง : แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 7 ภาค (region) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า

วันชาติ  4 มกราคม ค.ศ. 1948 (2491)

หน่วยเงินตรา : จ๊าด (Kyat : MMK) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 725 จั๊ตเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 24 จั๊ตเท่ากับประมาณ 1 บาท (ณ เดือนกันยายน 2554)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  49,079 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2555)

รายได้ประชาชาติต่อหัว  2,858 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2553)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 3.3 (ปี 2553)

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
    สินค้านำเข้าสำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน สิงคโปร์ ไทย
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : ไทย อินเดีย จีน

ชื่อภาษาท้องถิ่น – ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ

คำทักทาย – มิงกาลาบา

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Paduak หรือดอกประดู่ ผลิดอกสีเหลืองทอง และส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน

อาหารยอดนิยมของพม่า
“หล่าเพ็ด” (Lahpet)

          

หล่าเพ็ด คือ ใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น จัดว่าเป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงคำของไทย หล่าเพ็ดถือว่าเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญๆ รวมทั้งงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลอง

ชุดประจำชาติของประเทศพม่า

ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ

เครื่องดนตรี

Saung เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง Saung มีลักษณะเฉพาะ มีจุดเด่นตรงที่เป็นพิณโบราณของชาวพื้นเมืองที่ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้

                                             

Myanma saing waing หรือที่เรียกว่าวงมโหรีของพม่า ซี่งมีกลิ่นอายของวงออเคสตร้า นิยมเล่นในอาคาร

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

 
                               ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)

เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร) แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong

พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน

ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ภูมิอากาศ

ประชากร :  414,000 คน (ปี 2553)

ภาษา : ภาษามาเลย์(Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน

ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%และฮินดู (10%)

ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29

ผู้นำรัฐบาล : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29

ระบบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็น องค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี

สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย

วันชาติ  23 กุมภาพันธ์

หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์(Brunei Dollar : BND) 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.23 บาท (ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสิงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  12.0 พันล้าน USD (ไทย: 361.8 พันล้านUSD)

รายได้ประชาชาติต่อหัว  28,340 USD (ไทย: 5,351.6USD)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 3.1 (2553)

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้านำเข้าสินค้า : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาที ข้าวและผลไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

คำทักทาย  – ซาลามัต ดาตัง


ดอกไม้ประจำชาติ :  ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม

อาหารยอดนิยมของประเทศบรูไนดารุสซาลาม

“อัมบูยัต”(Ambuyat)

มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว

ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน

  

ชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู(Baju Melayu) ผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง ผู้ชายมุสลิมแต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจู กุรุง (Baju Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะและในสถานที่ราชการ

เครื่องดนตรี

                                               

Tawak Tawak เป็นเครื่องดนตรีผลิตจากทองเหลือง พบที่ซาราวักบนเกาะบอร์เนียว เครื่องดนตรีที่ทำจากทองเหลืองของบรูไน ดารุสซาลามและที่อื่น ๆ บนเกาะบอร์เนียวในสมัยก่อนนั้นโดยมากมักจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน เห็นได้จากการที่มีลวดลายด้านหน้าเป็นรูปมังกรและสัตว์ทะเล ปูและปลา ขอบด้านข้างเป็นรูปจระเจ้และปลา ครั้งหนึ่ง Tawak Tawak ใช้เป็นสัญญาณเรียกคนให้มารวมตัวกันไม่ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของวงมโหรี Gamelan เหมือนเช่นในอินโดนีเซีย

Gambus เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ มีสายทั้งหมด 12 เส้น ดีดด้วยปิ๊ก ไม่เหมือนกับเครื่องดนตรีตะวันตก เช่น แมนโดลินตรงที่ Gambus ไม่มีลายสลัก การปรับเสียงและรูปแบบการเล่นของ Gambus นั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเครื่องดนตรีของชาวอาหรับ

Gandang เป็นคำทั่วไปที่ใช้แสดงความหมายถึงกลองทุกชนิด ตัวกลองมีขนาดยาว ผิวหน้าของกลองมีสองด้าน ซึ่งมีขนาดต่างกัน ทำมาจากหนังแกะหรือหนังวัว หนังกลองแนบชิดไปกับตัวกลองด้วยเส้นหวาย Gandang จะพบได้ที่กลุ่มของ Gamelan ของชาวชวาในรัฐยะโฮร์ Gandang มลายูเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการแสดงดนตรีในโรงมหรสพ เช่นเดียวกับ Gamelan

สมาชิก AEC : มาเลเซีย

       
ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน

มาเลเซีย (Malaysia)

ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)

ชื่อภาษาท้องถิ่น : เปร์เซกูตาน มาเลเซีย

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)

               

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรก คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส

ส่วนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก

นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน

พื้นที่ : 329,758ตารางกิโลเมตร (ประมาณร้อยละ 64 ของไทย)

ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส

ประชากร : 28.9 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวมาเลย์กว่า 40% ที่เหลืออีกกว่า 33% เป็นชาวจีน อีก 10% เป็นชาวอินเดีย อีก 10% เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว อีก 5% เป็นชาวไทย และอื่นๆอีก 2%

ภาษา : มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ

ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)

ประมุข คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน (พระนามเต็ม: อัล วาติกูร บิลลาห์ ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบิดีน อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลต่าน มาห์มัด อัล มัคตาฟิ บิลลาห์ ชาห์ ภาษาอังกฤษ : DYMM Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah) จากรัฐตรังกานู ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย (ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)

นายกรัฐมนตรี คือ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บิน ฮาจิ อาหมัด บาดาวี (Dato’ Seri Abdullah bin Haji Ahmad Badawi

ระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ โดมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang di-Pertuan Agong)เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประและปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุดเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี โดมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besarในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือChief Ministerในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ

เขตการปกครอง : มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 รัฐ ได้แก่ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ ปะลิส ซาบาห์และซาราวัก และ 3 ดินแดนสหพันธ์ ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน

วันชาติ  31 สิงหาคม

สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR) (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท )

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  191.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ประชาชาติต่อหัว  6,760 ดอลลาร์สหรัฐ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 6.8

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้านำเข้าสำคัญ : ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการขนส่ง ผลิตภัณฑ์โลหะ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) น้ำมันดิบ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง

คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Bunga raya หรือดอกพู่ระหง โดยทั้ง 5 กลีบดอกเป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ

อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย
นาชิ เลอมัก (Nasi Lemak)

เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร นาชิ เลอมัก เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่นไข่ต้มสุกและถั่วอบ นาชิ เลอมัก แบบดั่งเดิมจะห่อในใบตองและรับประทานเป็นอาหารเช้า

ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย 

 

สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว

เครื่องดนตรี

                                                                     
Serunai
 เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของชาวมาเลย์ เป็นเครื่องดนตรีที่มีนานและเล่นโดยชุมชนชาวมาเลย์ในรัฐกลันตันชายฝั่งทะเลตะวันออกของมาเลเซีย ตัว serunai มีรูที่ใช้นิ้วปิดข้างหน้า 7 รู ข้างหลัง 1 รู จะสร้างเสียงผ่านรูต่าง ๆ เป่าไปพร้อม ๆ กับการแสดงวายัง กุลิด (การเล่นหนังตะลุง) หรือวงมโหรีหลวง

                                          
Rebab
 เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวมาเลย์ประเภทเครื่องดีดสามสาย ส่วนโค้งของตัวเครื่องที่ยื่นออกไปเป็นไม้เนื้อแข็งรูปสามเหลี่ยม มักจะทำจากไม้ของต้นขนุน ด้านหน้าตัวเครื่องปิดด้วยแผ่นกระเพาะด้านในของวัว ใช้ก้อนขี้ผึ้งเล็กๆยึดกับส่วนตัวเครื่องด้านบนทางซ้ายมือเพื่อขึงหน้าให้ตึง

                                                                   
Sape
 เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ Sape ถูกทำให้โค้งงอด้วยลำไม้ เครื่องดนตรีสมัยใหม่จำนวนมากมักจะมีความยาวเป็นเมตร Sape เป็นเครื่องดนตรีแบบที่เรียบง่าย เส้นแต่ละเส้นจะเป็นหนึ่งเสียง ส่วนเส้นที่เสริมเข้ามาจะถูกดีดเพื่อให้เกิดเสียงต่ำ ดนตรี Sape มักจะได้รับแรงบันดาลใจจากความฝัน

                                                
Kulintangan
 เป็นเครื่องดนตรีที่นำเข้ามาทางตะวันตกของซาบาห์โดยชาวบรูไน แต่เป็นเครื่องดนตรีโบราณของชาว Bajaus ชาว Dusun และชาว Kadazan มักใช้เล่นในวันงานเทศกาล เช่น งานแต่งงานและพิธีกรรมทางศาสนาจะใช้เล่นร่วมกับฆ้อง (gong) พื้นเมืองชนิดอื่น ๆ Kulintangan ประกอบด้วยฆ้องเล็ก ๆ 8-9 ลูก วางเรียงต่อกันตามระดับทำนอง ผู้เล่นจะนั่งบนพื้นหน้าเครื่องดนตรีและตีด้วยไม้ที่ถูกหุ้มด้วยผ้าเล็ก ๆ

                                                       
Drum
 เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง

สมาชิก AEC : กัมพูชา

               
ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน

กัมพูชา (Cambodia)

ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ(Phnom Penh)

ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติด เวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย

พื้นที่ : ขนาดกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 – 36 องศาเซลเซียส

ประชากร : 14.14 ล้านคน (2553) ประกอบด้วย ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี

ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน

ศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก(แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์

พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (His Majesty Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2547

นายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen)

ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

เขตการปกครอง  ตามกฤษฎีกา ลงนามโดย นรม.กพช. เมื่อ 12 ม.ค. 2552 กำหนดให้มีการแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้:แบ่งเป็น 1 ราชธานี (พนมเปญ) และ 23 จังหวัด ได้แก่ กระแจะ เกาะกง กันดาล กัมปงจาม กัมปงชนัง กัมปงธม กัมปง สะปือ กัมปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวิหาร พระตะบอง โพธิสัต บันเตียเมียนเจย ไปรเวง มณฑลคีรี สตึงเตรง สวายเรียง เสียมราฐ อุดรมีชัย ไพลิน แกบ และพระสีหนุ และแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์กลางการปกครองเรียกว่า (อำเภอเมือง) เรียกว่า “กรุง” นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญที่มีฐานะเป็น “กรุง” อีก 3 แห่ง คือ กรุงปอยเปต (จ. บันเตียเมียเจย) กรุงบาเว็ต (จ. สวายเรียง) และกรุงสวง (จ.กำปงจาม)

วันชาติ  9 พฤศจิกายน

หน่วยเงินตรา : เงินเรียล (Riel : KHR) (1 บาท ประมาณ 130 เรียล)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  14.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2555)

รายได้ประชาชาติต่อหัว  911.73 ดอลลาร์สหรัฐ (2554)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 6.7(2554)

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
    สินค้านำเข้าสำคัญ : ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์ยาง
สินค้าส่งออกสำคัญ :  เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่ และข้าว
ตลาดส่งออกที่สำคัญ:  สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา และเวียดนาม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน ฮ่องกง เวียดนาม ไทย และไต้หวัน

คำทักทาย – ซัวสเด

                                          
ดอกไม้ประจำชาติ
  : ดอก Rumdul หรือดอกลำดวน เป็นดอกสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว มีกลิ่นหอมช่วงเวลาค่ำ

อาหารยอดนิยมของประเทศกัมพูชา
“อาม็อก”(Amok)


มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย นิยมใช้เนื้อปลาปรุงด้วยน้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ ทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง อาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทนได้ แต่ที่นิยมใช้เนื้อปลาเพราะหาได้ง่าย

ชุดประจำชาติของกัมพูชา

                          

คือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ส่วนผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำ จากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขน ยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง

เครื่องดนตรี


Krapeu หรือที่เรียกว่า จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างเหมือนจะเข้ ประดับด้วยลวดลายมีสายสามสายสำหรับดีด คำว่า Krapeu ในภาษากัมพูชาหมายถึง จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีคลาสสิคของกัมพูชาสมัยปัจจุบัน จะเข้มักจะมี 3 หรือ 5 ขารองรับตัวเครื่อง เมื่อแสดงผู้เล่นจะนั่งข้างเครื่องดนตรี มือซ้ายดีดพิณขึ้นและลง ขณะที่มือขวาดึงด้วยการใช้ไม้ดีด จะเข้จะใช้สำหรับเป็นเครื่องดนตรีในงานแต่งงาน

                                                            
Sampho
 เป็นกลองยาวขนาดเล็กของชนพื้นเมืองในประเทศกัมพูชา มีสองหัวและเล่นโดยดารใช้มือสองมือ ผู้เล่น Sampho เป็นผู้นำกลุ่มเครื่องเป่าและกลองคอยกำหนดจังหวะ Sampho มีลักษณะคล้ายกับตะโพน

                                                     
Tro
 ซอกัมพูชาเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองประเภทเครื่องสายของกัมพูชา ตัวซอทำมาจากกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ ปลายข้างหนึ่งจะถูกปิดด้วยหนังสัตว์ สายทั้งสามทำมาจากเส้นไหม ซอกัมพูชามีลักษณะคล้ายคลึงกับซอสามสายของไทย

สมาชิก AEC : ลาว

   
ธงประจำชาติ                                                            ตราแผ่นดิน

ลาว (Laos)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic)

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์(Vientiane)

ที่ตั้ง : เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก พื้นที่ : 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) แบ่งเป็น 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์)

พื้นที่ : 236,880 ตร.กม. (1/2 เท่าของประเทศไทย)

ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา ต่ำสุด 10 องศา ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี ความชื้น 70-80 %

ประชากร : ประมาณ 6 ล้านคน (2552)

ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ

ศาสนา : 75% นับถือพุทธ (เถรวาท), นับถือผี 16%

ประมุข-ประธานประเทศ (ในภาษาลาว หมายถึง ตำแหน่งประธานาธิบดี) (President of the Lao PDR) คือ พลโท จูมมาลี ไซยะสอน (Lt. Gen. Choummaly Sayasone)

หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี คือ นายทองสิง ทำมะวง

ระบอบการปกครอง : ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือพรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518

วันชาติ  2 ธันวาคม (2518)

หน่วยเงินตรา : กีบ (Kip) (1 บาท เท่ากับประมาณ 250 กีบ) (2553)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2554)

รายได้ประชาชาติต่อหัว  835 ดอลลาร์สหรัฐ (2551)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 7.9 (2551)

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
สินค้านำเข้าสำคัญ  รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกสำคัญ  ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป

ชื่อภาษาท้องถิ่น : สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว

คำทักทาย : สะบายดี

                                         
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Champa หรือดอกลีลาวดี มีกลิ่นหอมและมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ เป็นตัวแทนของความจริงใจและความสุขในชีวิต

อาหารยอดนิยมของประเทศลาว 
 “ซุปไก่”(Chicken Soup)


แกงรสชาติหวานอร่อยกลมกล่อม ที่มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว เผ็ด จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว ได้คุณค่าทางโภชนาการอาหารและความอร่อยไปพร้อมๆ กัน

ชุดประจำชาติของประเทศลาว


ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อคอกลมแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

เครื่องดนตรี

                                                  
Khene
 เป็นเครื่องเป่ามีสิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านสิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาดบางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย แคนมีหลายประเภทตามจำนวนสูกแคน นอกจากบรรเลงเป็นวงแล้วก็ยังใช้บรรเลงประกอบการรำ (การขับร้อง) หรือใช้บรรเลงร่วมกับพิณ โปงลาง ฯลฯ

สมาชิก AEC : เวียดนาม

      
ธงประจำชาติ                                                              ตราแผ่นดิน

เวียดนาม (Vietnam)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

เมืองหลวง : กรุงฮานอย(Hanoi)

ที่ตั้ง : เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออก

พื้นที่ : 331,690 ตารางกิโลเมตร (ประมาณพื้นที่ 3 ใน 5 ของไทย)

ภูมิอากาศ : เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ 84 % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก 120 ถึง 300 เซนติเมคร(47 ถึง 118 นิ้ว) และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5°C (41°F) ถึง 37°C (99°F)

ประชากร : 89.57 ล้านคน (2553) เป็น เวียด 80% เขมร 10 %(บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย 1.9% ไท 1.74% เหมื่อง 1.49% ฮั้ว(จีน) 1.13% นุง 1.12% ม้ง 1.03%

ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม

ศาสนา : ไม่มีศาสนาประจำชาติ เนื่องจากปกครองโดยระบอบสังคมนิยม (มีผู้แสดงตนว่านับถือศาสนาต่างๆ 15.65 ล้านคน โดยศาสนาพุทธ (มหายาน) มีจำนวนผู้นับถือมากที่สุด (ร้อยละ 9.3)

ประมุข-ประธานาธิบดี คือ  นายเจือง เติน ซาง (Truong Tan Sang)

หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายเหวียน เติน สุง (Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรี

ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam) เป็นพรรคการเมืองเดียวและ มีอำนาจสูงสุด

เขตการปกครอง  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 58 จังหวัด และ 5 เทศบาลซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะเท่าจังหวัด

วันชาติ  2 กันยายน

หน่วยเงินตรา : ด่ง (Dong : VND) (1 บาท ประมาณ 691 ด่ง เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2555)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  119 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2554)

รายได้ประชาชาติต่อหัว  1,328.57 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2554)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 5.89 (ปี 2554)

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป
สินค้านำเข้าสำคัญ  น้ำมันสำเร็จรูป เหล็กและเหล็กกล้า เส้นใยสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า พลาสติก รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ นำมันดิบ
สินค้าส่งออกสำคัญ  สิ่งทอและเสื้อผ้า น้ำมันดิบ อาหารทะเล ข้าว ยางพารา กาแฟ รองเท้า ชา คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ชื่อภาษาท้องถิ่น – ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม

คำทักทาย – ซินจ่าว

                
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Lotus หรือ ดอกบัว สำหรับชาวเวียดนามแล้ว ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พันธ์ไม้ที่มีความสง่างามของชาวเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วย ต้นสน ต้นไผ่ ต้นเบญจมาศ และดอกบัว

อาหารยอดนิยมของประเทศเวียดนาม

               

Nam หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวียดนาม แผ่นเปาะเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยไส้เปาะเปี๊ยะอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง ห่อรวมกับผักต่างๆ นับเป็นอาหารยอดนิยมที่สามารถรับประทานได้ทั่วไปในเวียดนาม

ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม

อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ

เครื่องดนตรี

                                                   
Dan nhi
 เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องสี) มีลักษณะคล้ายซอด้วงของไทยมีเสียงสูงต่ำที่เป็นเอกลัษณ์เฉพาะ Dan nhi มี สาย 2สาย มีลักษณะยาว สายทำมาจากไหมถัก และกล่องเสียงทำมาจากหนังงู ในปัจจุบัน Dan nhi สายมักทำจากลวด และกล่องเสียงทำด้วยไม้

                                                 
Dan tranh Dan tranh
 เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องดีด) มีลักษณะคล้ายพิณ มีสายทั้งหมด 16สาความยาวประมาน 100 ซม. เครื่องดนตรีชนิดนี้ ประดิษฐ์ขึ้นโดยจักรพรรดิของจีน Phuc Hi ปัจจุบัน Dan tranh เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมอย่างมากในหมู่นักเรียนหญิงชาวเวียดนาม


Kim หรือ Dan nguyet เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องดีด) มีลักษณะคล้ายกีต้าร์ แต่มีสายแค่2สาย มีเสียงที่นุ่มนวล


เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ และ ขลุ่ยเวียดนาม ปีนั้นมีลักษณะคล้ายปี่ชวาของไทย และ ขลุ่ยเวียดนาม นั้นมีลักษณะคล้ายขลุ่ยจีน มีรู 6 รู รูเป่าอยู่ด้านข้างคล้ายฟลูท ยาวประมาย 70 ซม


Dan bau เป็นพิณน้ำเต้าสายเดี่ยวแบบโบราณ

สมาชิก AEC : สิงคโปร์

 

             
ธงประจำชาติ                                                               ตราแผ่นดิน

สิงคโปร์ (Singapore)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)

เมืองหลวง : สิงคโปร์

ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17’35” เหนือ ลองจิจูด 103°51’20” ตะวันออก ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ (Johor Bahru)ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะเรียล(Riau)ของประเทศอินโดนีเซีย

พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส

ประชากร : 5.08 ล้านคน ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%

ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน

ศาสนา : พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25%

ประธานาธิบดี คือ นายโทนี ตัน

นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) (12 สิงหาคม 2547)

ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี) โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุด คือเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2554 โดยนายลี เซียน ลุงหัวหน้าพรรค PAP ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย

วันชาติ  9 สิงหาคม (แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508)

หน่วยเงินตรา : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD) (1 SGD ประมาณ 23.47 บาท)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  259.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ประชาชาติต่อหัว  50,123 ดอลลาร์สหรัฐ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 4.9

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
    อุตสาหกรรมหลัก : การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคมขนส่งและโทรคมนาคม การเงินและการธนาคาร การบริการอื่นๆ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย

ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์

ภาษาจีน – ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว

คำทักทาย – หนีห่าว

                           
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Vanda Miss Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ มีสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม

อาหารยอดนิยมของประเทศสิงคโปร์
ลักสา (Laksa)

เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) มีลักษณะคล้ายกับข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเกตตี้ของอิตาลี

ชุดประจำชาติของประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้

เครื่องดนตรี

                                                        
Dizi
 เป็นขลุ่ยจีนดั้งเดิมมีปุ่ม 3 ปุ่ม อาจจะมีแผ่นบาง ๆ เพื่อปิดรูไว้เพื่อทำให้เกิดเสียงรัว เชื่อกันว่า Dizi นำมาจากทิเบตในช่วงยุคราชวงค์ฮั่นและตั้งแต่นั้นมาก็มีการใช้ในประเทศจีนมาเป็นเวลากว่า 2 พันปีแล้ว ผู้เล่นจะมีเทคนิคในการเป่ามากมาย ซึ่งก็จะทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันไป

                                                                     
Erhu
 เกิดขึ้นในประเทศจีนในสมัยรัชวงศ์ถัง เป็นซอสองสายที่เล่นบนตัก เส้นสายจะมีระดับเสียง 5 ระดับ ใช้คันชักในการสี มีรูปแบบหลายชนิดโดยรูปร่างและกล่องเสียงก็จะแตกต่างกันออกไป Erhu กลายมาเป็นเครื่องดนตรีหลักในอุปรากรจีน

                                                                
Gaohu
 เป็นเครื่องดนตรีหลักของเพลงกวางตุ้งและเพลงอุปรากรจีน Gaohu มีลักษณะคล้ายกับ Erhu แต่มีกล่องเสียงที่มีน้ำหนักเบากว่า โดยทั่วไปกล่องเสียงจะเป็นวงกลม และมีระดับเสียงที่สูงกว่าคือ 5 ระดับด้วยกัน และมีเสียงที่กังวานกว่าเมื่อเทียบกับ Erhu

                                                    
Veena
 เป็นเครื่องดีดที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในดนตรี Carnatic (ดนตรีที่เล่นกันทางตอนใต้ของอินเดีย) รูปแบบของ Veena มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปผู้ที่เล่น Veena เราจะเรียกเขาว่า Vainika

                                                                      
Zhongruan
 เป็นเครื่องดีดของจีนที่อาจจะใช้นิ้วหรือปิ๊กดีดก็ได้ มีลักษณะคล้ายกับ pipa มีคอตั้งตรง มีกล่องเสียงเป็นวงกลมและมีลวดลายสลัก

                                                         
Guzheng
 เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของจีน เป็นแม่แบบของ koto เครื่องดนตรีญี่ปุ่น yatga เครื่องดนตรีของมองโกเลีย และKayageum เครื่องดนตรีของเกาหลีแม่แบบของ Guzheng คือ se (เครื่องดนตรีประเภทสายโบราณของจีน) สายของมันแต่เดิมแล้วทำด้วยไหม จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นสายโลหะและเหล็กที่พันด้วยไนลอนตามลำดับ จำนวนสายของ Guzheng จะมีจำนวนไม่แน่นอนอย่างน้อยที่สุดมี 6 เส้น หรือมากที่สุด 23 เส้น

                                                       
Yangqin
 เป็นเครื่องดนตรีที่คล้ายขิมของประเทศไทย แต่เดิมแล้วมาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง มีรูปแบบแตกต่างกันไป เป็นที่นิยมไม่เพียงแต่เฉพาะในประเทศจีน แต่ยังนิยมในยุโรปกลาง ตะวันออกกลาง อินเดียและปากีสถานอีกด้วย Yangqin ใช้เล่นอยู่ในวงหรือเล่นเดี่ยวก็ได้

                                                                     
Konghou
 ลักษณะเด่นที่ Konghou ต่างจากพิณคอนเสิร์ตในตะวันตกคือ สายของ Konghou จะถูกพับเพื่อทำให้เกิดแถวสองแถว ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการเล่นชั้นสูงได้ สายที่มีสองแถวนั้นยังเหมาะกับการเล่นจังหวะเร็วและเสียงประกอบด้วย

                                                     
Pipa
 บางครั้งเรียก ขลุ่ยจีน มีรูปร่างเหมือนผลแพร์ ใช้เป็นเครื่องดนตรีมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2 พันปีในจีน วิธีการเล่น คือใช้ทุกนิ้วข้างขวายกเว้นนิ้วหัวแม่มือกดสายจากขวาไปซ้าย และใช้นิ้วหัวแม่มือขวาดีดจากซ้ายไปขวา เมื่อเริ่มแรกสายจะถูกดีดด้วยปิ๊กอันใหญ่ จากนั้นก็ค่อยๆเปลี่ยนมาใช้นิ้วข้างขวาแทน

สมาชิก AEC : อินโดนีเซีย

      
ธงประจำชาติ                                                            ตราแผ่นดิน

อินโดนีเซีย (Indonesia)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)

ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก

พื้นที่ : พื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร (รวมพื้นที่ทั้งหมด 5,070,606 ตารางกิโลเมตร) เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี

ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)

ประชากร : ประมาณ 243 ล้านคน (2553) ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา

ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia

ศาสนา : อิสลามร้อยละ 85.2 คริสต์นิกายโปรแตสแตนร้อยละ 8.9 คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 3 ฮินดูร้อยละ 1.8 พุทธร้อยละ 0.8 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.3

ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono)

ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2552

เขตการปกครอง  30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 3 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา และจังหวัดอาเจห์

วันชาติ  17 สิงหาคม

หน่วยเงินตรา : รูเปียห์ (Rupiah : IDR) (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 35บาท)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  706.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ประชาชาติต่อหัว  4,222 ดอลลาร์สหรัฐ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 6.1

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
สินค้านำเข้าสำคัญ: น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ: ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพารา
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ: สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : EU ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์

ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย

คำทักทาย – ซาลามัต เซียง

                                                       
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Moon Orchid หรือกล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้สายพันธ์ Phalaenopsis Amabilis

อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย 
“กาโด กาโด”(Gado Gado)

อาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งใกล้เคียงกับสลัดแขก ของประเทศไทย

ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย


เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด

เครื่องดนตรี

                                                            
Gamelan
 เป็นกลุ่มของเครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด เช่น metallophones, xylophones และ gongs ขลุ่ยไม้ไผ่ อาจมีนักร้องด้วยก็ได้ คำว่า “Gamelan” มาจากคำของชาวชวา คำว่า “ gamel” มีความหมายว่า ตี หรือ เคาะ และตัวท้าย “an” ใส่เพื่อทำให้นามนั้นเป็นพหูพจน์

                                                         
Angklung
 เป็นเครื่องดนตรีที่ทำมาจากท่อไม้ไผ่ 2 ชิ้นแนบกับโครงไม้ไผ่ท่อ มีลักษณะเป็นวงโค้งเวลาเขย่าจึงเกิดเสียงก้องกังวาน ฐานของโครงนั้นจะถูกยึดกุมด้วยมือเดียว ขณะที่อีกมือหนึ่งเขย่าอย่างเร็วจากด้านหนึ่งไปด้านหนึ่ง Angklung ทั้งสามอันหรือมากกว่านั้นจะแสดงเป็นกลุ่ม แต่ละอันจะเล่นเพียงโน้ตเดียว และเมื่อเสียงของแต่ละอันรวมกันก็จะเกิดเป็นท่วงทำนองหลักขึ้น Angklung ได้รับความนิยมทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีถิ่นกำเนินที่อินโดนีเซีย (ชาวชุนดาใช้และเล่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ)

                                                      
Gambang
 หรือที่เรียกว่า Gambang kayu (Gambang ไม้) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับระนาดที่ใช้ในหมู่ชาวอินโดนีเซียและทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ในวงมโหรี Gamelan และ Kulintang

 

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

  

                               ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)

เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร) แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong

พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน

ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ภูมิอากาศ

ประชากร :  414,000 คน (ปี 2553)

ภาษา : ภาษามาเลย์(Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน

ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%และฮินดู (10%)

ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29

ผู้นำรัฐบาล : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29

ระบบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็น องค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี

สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย

วันชาติ  23 กุมภาพันธ์

หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์(Brunei Dollar : BND) 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.23 บาท (ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสิงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  12.0 พันล้าน USD (ไทย: 361.8 พันล้านUSD)

รายได้ประชาชาติต่อหัว  28,340 USD (ไทย: 5,351.6USD)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 3.1 (2553)

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้านำเข้าสินค้า : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาที ข้าวและผลไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

คำทักทาย  – ซาลามัต ดาตัง


ดอกไม้ประจำชาติ :  ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม

อาหารยอดนิยมของประเทศบรูไนดารุสซาลาม

“อัมบูยัต”(Ambuyat)

มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว

ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน

  

ชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู(Baju Melayu) ผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง ผู้ชายมุสลิมแต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจู กุรุง (Baju Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะและในสถานที่ราชการ

เครื่องดนตรี

                                               

Tawak Tawak เป็นเครื่องดนตรีผลิตจากทองเหลือง พบที่ซาราวักบนเกาะบอร์เนียว เครื่องดนตรีที่ทำจากทองเหลืองของบรูไน ดารุสซาลามและที่อื่น ๆ บนเกาะบอร์เนียวในสมัยก่อนนั้นโดยมากมักจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน เห็นได้จากการที่มีลวดลายด้านหน้าเป็นรูปมังกรและสัตว์ทะเล ปูและปลา ขอบด้านข้างเป็นรูปจระเจ้และปลา ครั้งหนึ่ง Tawak Tawak ใช้เป็นสัญญาณเรียกคนให้มารวมตัวกันไม่ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของวงมโหรี Gamelan เหมือนเช่นในอินโดนีเซีย

Gambus เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ มีสายทั้งหมด 12 เส้น ดีดด้วยปิ๊ก ไม่เหมือนกับเครื่องดนตรีตะวันตก เช่น แมนโดลินตรงที่ Gambus ไม่มีลายสลัก การปรับเสียงและรูปแบบการเล่นของ Gambus นั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเครื่องดนตรีของชาวอาหรับ

Gandang เป็นคำทั่วไปที่ใช้แสดงความหมายถึงกลองทุกชนิด ตัวกลองมีขนาดยาว ผิวหน้าของกลองมีสองด้าน ซึ่งมีขนาดต่างกัน ทำมาจากหนังแกะหรือหนังวัว หนังกลองแนบชิดไปกับตัวกลองด้วยเส้นหวาย Gandang จะพบได้ที่กลุ่มของ Gamelan ของชาวชวาในรัฐยะโฮร์ Gandang มลายูเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการแสดงดนตรีในโรงมหรสพ เช่นเดียวกับ Gamelan